nungning....คณิตศาสตร์....
 
  หน้าแรก
  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  หลักการสร้าง เลือกสื่อ ให้เหมาะสม
  งานวิจัย...คือ..อะไร..????
หลักการสร้าง เลือกสื่อ ให้เหมาะสม

 

เลือกสื่อการสอนอย่างไร...ให้ดีและเหมาะสม???????

     สื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดความเข้าใจในบทเรียน และช่วยเร้าความสนใจของนักเรียนให้เรียนหนังสือ ดังนั้นสื่อการเรียนการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้สอนควรให้ความเอาใจใส่ พิถีพิถันในการเลือกให้เหมาะแก่ผู้เรียน หรือสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียน ลำดับแรกผู้เขียนขอนำเสนอความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และประเภทของสื่อการเรียนการสอนก่อน ก่อนที่จะนำเข้าสู่วิธีการเลือกสื่อใช้สื่อการเรียนการสอน
ความหมาย ของสื่อการเรียนการสอน มีผู้ให้ความหมายของสื่อไว้แตกต่างกันหลายท่าน เช่น

 สื่อ (Media) หมายถึง สิ่งของหรือคนที่ทำให้มีการติดต่อถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
        สื่อ หมายถึง   ชักนำให้รู้จักกัน ทำการติดต่อถึงกัน
        สื่อ หมายถึง   วิธีการลงรหัสและถอดรหัสข่าวสาร
        สื่อ หมายถึง    ตัวกลางนำข่าว หรือ นำพาหนะนั้นไป
        สื่อ หมายถึง    ช่องทางข่าวสาร (Channel) รวมคำพูด ตัวอักษร และอื่นๆ
                กล่าวโดยสรุป สื่อ หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ผู้ส่งสารกับผู้รับสารได้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
สำหรับ สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่จะทำให้ผู้สอนบรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งข่าวสาร ข้อมูลความรู้ทางด้านการศึกษา ไปยังผู้เรียนโดยเน้นเนื้อกาอันเป็นความรู้ ตามหลักสูตรหรือกิจกรรม เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนอย่างเต็มที่
ความสำคัญของสื่อการสอน    สื่อการสอนมีความสำคัญดังนี้
  1. ช่วยให้นักเรียนเกิดความสนใจ อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น
  2. ช่วยให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้น
  3. ช่วยให้แก้ปัญหาในการเรียนการสอน
  4. ช่วยให้เข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อได้ตรง
  5. ช่วยลดเวลาการสอน เพิ่มเนื้อหาวิชาขึ้น
  6. ช่วยให้เกิดความพึงพอใจในการเรียน
  7. ช่วยขจัดการเรียนรู้สิ่งที่มีข้อจำกัด เช่น
      - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
      - ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
      - ทำสิ่งที่เป็นอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
      - ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
      - ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
   8. ช่วยให้จำเนื้อหาบทเรียนได้ดี
   9. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น
 10. ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน  
โดยทั่วไปแล้วสื่อการสอนมีประโยชน์ดังนี้
      1. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เพราะสามารถหยิบได้ จับได้ มองเห็นได้ สัมผัสได้
      2. ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็วภายในเวลาอันสั้น ไม่ต้องเสียเวลาอธิบายมาก ผู้เรียนเห็นสื่อก็สามารถเข้าใจได้ทันที
      3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนมากกว่าการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนนั่งฟังเฉยๆ
      4. ช่วยให้จดจำง่าย เพราะแลเห็นด้วยตา สัมผัสด้วยผิวกาย ไม่ว่าจะเป็นจริงหรือของจำลอง ล้วนช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้ดีขึ้น
       5. ช่วยให้เข้าใจสิ่งที่ยากได้ง่าย เพราะมีวัสดุอุปกรณ์เตรียมพร้อม ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจสิ่งที่ยากและเสียเวลาเรียนรู้นาน มาเป็นเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ลักษณะสื่อที่ดี
    สื่อการสอนที่ดีควรมีลักษณะที่น่าสนใจ ดังนี้
      1. เหมาะกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สามารถนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สนองความต้องการได้ตรงตามวัตถุประสงค์เบื้องต้น
      2. เหมาะกับวัยของผู้เรียน
      3. เหมาะกับกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนจะต้องคำนึงถึงสื่อเสมอ ว่าใครเป็นผู้ใช้ ถ้าครูสาธิตให้นักเรียนชมสื่อที่เป็นวัสดุจำพวกแก้ว สามารถใช้ได้ แต่ถ้านักเรียนลงมือปฏิบัติ สื่อต้องเปลี่ยนเป็นพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่ไม่แตกหักง่าย
       4. ใช้ง่าย ปลอดภัยและสะดวก ลักษณะของสื่อควรมีขนาดพอเหมะ ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป สร้างความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ ทั้งยังสะดวกในการใช้และการเก็บรักษาด้วย
       5. ไม่สิ้นเปลืองและคุ้มค่า

ประเภทของสื่อการสอน
                สื่อการสอนแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท    ในที่นี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างเพียงสองประเภท คือ การแบ่งตามลักษณะทั่วไปและการแบ่งตามลักษณะของการใช้
                การแบ่งตามลักษณะทั่วไป สื่อที่ใช้ในวงการศึกษามีด้วยกันหลายชนิด หลายประเภท เพื่อความสะดวกในการจัดประเภท จึงแบ่งตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ
                1. ประเภทเครื่องมือ (HardWare)
                    ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีขึ้น เช่น เครื่องเสียง วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายข้ามศีรษะ (Over Head)
               
    2. ประเภทวัสดุ (Software)
                    ประเภทวัสดุเป็นสื่อที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สามารถหยิบนำมาใช้ได้ทันที บางชนิดใช้บรรจุข้อมูลรายการต่างๆไว้ เวลาใช้ต้องนำไปใช้กับเครื่องมือเฉพาะอย่างจึงจะเกิดผล สื่อประเภทนี้ เช่น แผ่นดิสก์ ต้องใช้คู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เทปคาสเซ็ท ต้องใช้ควบคู่กับวิทยุเทป แผ่นใส ต้องใช้คู่กับโอเวอร์เฮ็ด เป็นต้น สำหรับวัสดุที่ใช้ได้ทันที ได้แก่ ของจริง สิ่งจำลอง รูปภาพ ป้านนิเทศ บัตรคำ แผนที่ หนังสือ เป็นต้น
                3. ประเภทวิธีการ (Techniques)
                    ประเภทวิธีการหรือเทคนิค เป็นประสบการณ์ทำกิจกรรมที่รวมเอาประเภทที่ 1 เครื่องมือ และ ประเภทที่ 2 วัสดุ มาใช้ร่วมกับการดำเนินการ โดนเน้นวิธีการเป็นสำคัญ เช่น สาธิตการทำขนม การประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุ วิธีการวาดภาพ การจัดนิทรรศการ การจัดประกวด เป็นต้น

การแบ่งสื่อตามลักษณะของการใช้
                การแบ่งสื่ออีกแบบหนึ่งตามลักษณะการใช้สื่อ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
                1. Presentation Media
                    สื่อในกลุ่มนี้ทำหน้าที่ในการแสดงข้อมูล ซึ่งผู้รับข้อมูลสามารถเรียนรู้ได้จากเสียงและภาพ กระบวนการ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเสนอนั้นเป็นการแสดงต่อผู้รับสารโดยตรง โดยผ่านทางวัสดุ เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารทางไกล สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 7 พวกใหญ่ๆ
คือ   พวกที่ 1 วัสดุกราฟฟิค สิ่งพิมพ์ และภาพนิ่ง ถึงแม้ว่ารูปแบบขอสื่อทั้ง 3 อย่างนี้จะดูแตกต่างกันก็ตาม กล่าวคือสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับสัญลักษณ์ซึ่งเป็นตัวหนังและตัวเลข วัสดุกราฟฟิคทำโดยกระบวนการเขียนและภาพนิ่ง ได้มาจากกระบวนการทางการถ่ายภาพ แต่ก็ไม่สามารถจัดกลุ่มอยู่ในพวกเดียวกันได้เพราะว่าสื่อเหล่านี้ต่างก็มีรูปแบบการเสนอที่เหมือนกัน คือมีลักษณะภาพนิ่งและสามารถเห็นได้โดยตรง นอกจากนี้ ส่วนมากก็ถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบร่วมกันเช่นหนังสือ วัสดุที่นำมาแสดงตั้งแต่แผ่นโปสเตอร์ไปจนถึงหนังสือเรียน
                พวกที่ 2 สื่อประเภทภาพฉายนิ่ง (Still-Projection Media) ในกลุ่มนี้รวมเอาสไลด์ ฟิล์มสตริป แผ่นโปรงใส ภาพทึบแสง และวัสดุฉายที่เป็นภาพนิ่งเข้าไปไว้ด้วย ทั้งเป็นวัสดุทึบแสงหรือโปร่งแสงซึ่งสามารถจะนำเสนอข้อมูลออกเป็นรูปแบบ 3 อย่างคือ รูปภาพ สิ่งพิมพ์ และกราฟฟิคคลายเส้น
                พวกที่ 3 สื่อเสียง (Audio Media) สื่อเสียงนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบของเสียงที่ใช้อยู่โดยทั่วไป คือเทปบันทึกเสียงและแผ่นเสียง ทั้งสองชนิดนี้เป็นสื่อที่สามารถเล่นกลับได้ นอกจากนี้ยังมีสื่ออีกสองชนิดที่ส่งผ่านทางการสื่อสารระยะไกลซึ่งใช้ในบางระดับของการศึกษาคือวิทยุและโทรทัศน์ วิทยุมีประวัติในการใช้ทางการศึกษามายาวนาน ในขณะที่โทรทัศน์เพิ่งจะเริ่มนำมาใช้ในการสอนระยะไกลหรือขยายขอบข่ายของผู้เรียนให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น
                พวกที่ 4 สื่อเสียงรวมกับสื่อภาพนิ่ง (Audio Plus Still-Visual Media) สื่อประเภทนี้เป็นอาการรวมบันทึกเสียงและทัศนวัสดุนิ่งเข้าด้วยกัน อย่างหนึ่งก็คือสไลด์หรือฟิล์มสตริปที่ใช้ในระบบซิงโครไนซ์กับเทปบันทึกเสียง โดยให้เทปบันทึกเสียงทำหน้าที่ควบคุมเครื่องฉายสไลด์และสื่อในรูปแบบอื่น เช่น สื่อเสียงกับหนังสือที่เรียกว่า Sound Page หรือ Sound Book โดยฉาบสารแม่เหล็กบนแผ่นการ์ด หรือบนหน้ากระดาษซึ่งมีมาพร้อมกับวัสดุอื่นๆ
                พวกที่ 5 ภาพยนตร์ สื่อประเภท Presentation Media เครื่องฉายภาพยนตร์และโทรทัศน์ ซึ่งสามารถนำเสนอรูปแบบได้ทั้ง 5 รูปแบบ ยกเว้นภาพยนตร์เงียบ ซึ่งไม่สามารถนำเสนอเสียงได้ ขนาดของภาพยนตร์ที่ใช้ในการศึกษามี 16 ม.ม. 8 ม.ม. และซุปเปอร์ 8 ม.ม. ซึ่งเห็นภาพเคลื่อนไหวได้
                พวกที่ 6 โทรทัศน์ มีลักษณะเป็นการนำเสนอภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับภาพยนตร์ ต่างกันที่มีการบันทึกภาพถ่ายทอดและฉายภาพด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีความต่างจากภาพยนตร์ที่ลักษณะการผลิตและการส่งผ่านโทรทัศน์ มีการใช้ในหลายรูปแบบคือการถ่ายทอดออกอากาศ โทรทัศน์วงจรปิด และโทรทัศน์ตามสาย
                พวกที่ 7 สื่อผสม เนื่องจากเราสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างผสมกันได้หลายๆวิธี จึงได้จัดสื่อนี้ไว้อีกประเภทหนึ่ง อาจทำการฉายภาพด้วยเครื่องฉายหลายๆเครื่องพร้อมกัน เครื่องฉายกำลังสูงๆจนกระทั่งสามารถนำมาใช้กับการนำเสนอในห้องประชุมขนาดใหญ่ได้ การใช้สื่อแบบนี้มิเพียงแต่ในสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่ได้นำไปใช้ในงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ด้วย
                2. Object Media
                เป็นสื่ออีกประเภทหนึ่งซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจาก Presentation Media ซึ่งมีโครงสร้างทางขนาด น้ำหนัก รูปร่าง มวล สี พื้นผิวที่มีความสัมพันธ์กันเป็นวัสดุ 3 มิติ ซึ่งมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกเป็นวัสดุตามธรรมชาติ (Natural Object) ซึ่งเคลื่อนไหวได้ กับเคลื่อนไหวไม่ได้ (Animate and Inanimate) กลุ่มที่2 คือวัสดุที่ได้จากการสร้างขึ้น (Manufacture Object) เช่น สิ่งก่อสร้าง เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องสื่อสาร และสิ่งอื่นๆที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการใช้งาน
                3. Interactive Media
                ลักษณะของสื่อประเภทนี้คือผุ้เรียนไม่สามารถนำเสนอข้อมูลได้ แต่อาศัยการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
1.       ผู้เรียนปฏิกิริยาต่อโปรแกรม เช่น การใช้บทเรียนโปรแกรม หรือโปรแกรมประกอบสื่อ
2.        ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อเครื่องจักร เช่นเครื่องช่วยสอน การแสดง Simulation ห้อง LAB ภาษาหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
3.        ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อสื่อ เช่น การใช้เกมศึกษา การจัดสถานการณ์จำลอง (Simulations) เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียน และร่วมกันแก้ปัญหาในระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
และหัวข้อสุดท้ายนี้จะเป็นหลักในการเลือกสื่อการสอน มาดูกันว่าเราควรมีหลักการอย่างไรในการเลือกใช้สื่อการสอนได้อย่างเหมาะสมกับการใช้

หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนควรยึดหลักการเลือกสื่อการสอนดังนี้
1.       เลือกสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ พิจารณาเลือกตามจุดมุ่งหมาย
2.        เลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหา พิจารณาเนื้อหาสาระที่นำเสนอ แล้วพยายามเลือกสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
3.        เลือกสื่อที่สอดคล้องกับวัยของนักเรียน สื่อการเรียนมีหลายรูปแบบ ผู้เลือกสื่อต้องคำนึงถึงวัย สติปัญญา ความสามารถ ความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน มาเป็นหลักในการพิจารณาเลือกสื่ออย่างเหมาะสมด้วย
4.        เลือกสื่อที่สนองความมุ่งหมายตามที่ต้องการนำเสนอ ว่าเป็นด้านใด เช่น ด้านข้อเท็จจริง ความแตกต่าง หลักเกณฑ์ กระบวนการ ทักษะหรือเจตคติ
5.        เลือกสื่อให้เหมาะสมกับขนาดของผู้เรียนและสถานที่เรียน ถ้าผู้เรียนมีจำนวนมาก สื่อควรมีขนาดใหญ่ หรือมีจำนวนหลายชิ้น อีกทั้งต้องพิจารณาสถานที่ด้วยว่าเหมาะจะใช้สื่อชนิดใด
6.        เลือกสื่อโดยพิจารณาคุณภาพทางเทคนิค พิจารณารูปร่าง ขนาด สี ความสวยงามของสื่อ เพื่อช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
7.        เลือกสื่อที่สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สื่อควรมีความทนทาน เก็บรักษาง่าย ไม่เกิดปัญหาขณะใช้งาน
8.        เลือกสื่อให้เหมาะกับประสิทธิภาพของสื่อชนิดนั้น เพราะสื่อแต่ละชนิดมีศักยภาพการใช้งานที่แตกต่างกัน มีทั้งข้อดีและข้อบกพร่อง การพิจารณาเลือกสื่อการสอนแต่ละชนิด สามารถพิจารณาโดยยึดถือศักยภาพหรือคุณสมบัติของสื่อ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง
เพียงแค่ใช้หลักการเลือกสื่อการสอนไม่กี่ขั้นตอนที่กล่าวมานี้ ท่านก็สามารถเลือกสื่อการสอนได้เหมาะสมและตรงกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะนำไปใช้ ให้เหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ ได้อย่างมั่นใจ
 
   
Today, there have been 1 visitors (2 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free