nungning....คณิตศาสตร์....
 
  หน้าแรก
  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  หลักการสร้าง เลือกสื่อ ให้เหมาะสม
  งานวิจัย...คือ..อะไร..????
เรื่องที่5

 

ชื่องานวิจัย     รายงานการพัฒนาและผลการใช้นวัตกรรมการศึกษา (บทเรียนสำเร็จรูป) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค 32101) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมพู
ชื่อผู้วิจัย        น้ำเพชร ขวัญทอง
ตำแหน่ง         ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา  โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู
                              
ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรายงานผลการใช้นวัตกรรม คือ บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เรื่อง ที่ใช้ศึกษาทดลองกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1

วัตถุประสงค์งานวิจัย
1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค 32101) โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ 70/70                                                                                                                        2)2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค 32101) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป                                                                                                                                                                                                    3) 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 ต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป

วิธีดำเนินการงานวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 32 คน ในปีการศึกษา 2549 ของโรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
2. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาทดลองเป็นเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.ศ. 2544 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู พ.ศ. 2549
3. ระยะเวลาในการศึกษาทดลอง ได้แก่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 15 สัปดาห์ 59 คาบ
4. เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 
    1) บทเรียนสำเร็จรูป กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 เรื่อง 
    2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ (ค 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ
    3) แบบวัดเจตคติต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
5. สถิติที่ใช้ ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) การหาประสิทธิภาพ E1 / E2 การหาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดเจตคติโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) และ t – test แบบ Dependent

สรุปผลงานวิจัย
          ผลการศึกษาทดลองพบว่า บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 5 เรื่อง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ค 32101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ซึ่งประกอบด้วยเรื่องอัตราส่วนและร้อยละ มีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 89.68 E2 เท่ากับ 71.25 เรื่องการวัด มีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 94.42 E2 เท่ากับ 73.75 เรื่องแผนภูมิรูปวงกลม มีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 86.96 E2 เท่ากับ 71.41 เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต มีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 85.45 E2 เท่ากับ 70.47 เรื่องความเท่ากันทุกประการ มีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 90.09 E2 เท่ากับ 70.78 และประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จทุกเรื่องรวมกันมีประสิทธิภาพ E1 เท่ากับ 89.32 E2 เท่ากับ 72.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 70/70
ผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป (ฉบับรวม) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 พบว่า ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ( ) เท่ากับ 25.22 และค่าเฉลี่ยหลังเรียน ( ) เท่ากับ 36.06 มีความแตกต่างกัน 10.84 แสดงให้เห็นว่าผลการเรียนมีความก้าวหน้า เมื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป (ฉบับรวม) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 พบว่า ได้ค่า t เท่ากับ 34.12 สูงกว่าค่าวิกฤติของ t 1.76 แสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นจริง
            ผลการวัดเจตคติของนักเรียนต่อสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 5 เรื่อง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 ซึ่งได้มาจากการวัดตามลักษณะการวัดแบบลิเคิร์ท สเกล (Likert Scale) ชนิด 5 ตัวเลือก แล้วนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์การแปลความของบุญชม ศรีสะอาด พบว่า ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเจตคติก่อนเรียน ( ) เท่ากับ 3.15 และค่าเฉลี่ยเจตคติหลังเรียน ( ) เท่ากับ 4.01 มีความแตกต่างกัน 0.86 ซึ่งมีความหมายว่านักเรียนมีความเห็นด้วยกับรายการที่ต้องการวัดในระดับ “มาก” แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีเจตคติต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบผลการวัดเจตคติของนักเรียนต่อสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป จำนวน 5 เรื่อง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านสามแยกวังชมภู ปีการศึกษา 2549 พบว่า ได้ค่า t เท่ากับ 11.53 สูงกว่าค่าวิกฤติของ t 1.76 แสดงให้เห็นว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงว่าบทเรียนสำเร็จรูปส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติต่อกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจริง
 
   
Today, there have been 1 visitors (4 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free