nungning....คณิตศาสตร์....
 
  หน้าแรก
  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  หลักการสร้าง เลือกสื่อ ให้เหมาะสม
  งานวิจัย...คือ..อะไร..????
  => งานวิจัย เรื่องที่ 1
  => งานวิจัย เรื่องที่ 2
  => งานวิจัย เรื่องที่ 3
  => งานวิจัย เรื่องที่ 4
  => งานวิจัย เรื่องที่ 5
งานวิจัย เรื่องที่ 3

 

ชื่องานวิจัย :การประเมินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
ชื่อผู้ทำวิจัย สถาบันปีที่พิมพ์ : นางสาวปิยนุช รัตนวรรณี มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2544



วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.
เพื่อประเมินกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
2.
เพื่อประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
วิธีการดำเนินวิจัย
    
     
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม เรื่องเศษส่วนและทศนิยมภาคเรียนที่ 1 พ.ศ.2544 ผู้ทำวิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.การเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนบ้านเปือยสำนักงานการศึกษาอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร จำนวน 31 คน
2.เครื่องมือและการศึกษาเครื่องมือ
   2.1เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการวิจัย ได้แก่แผนการสอนตามรูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม วิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนและทศนิยมจำนวน 16 แผนการสอน
   2.2 เครื่องมือที่ใช้ประเมินกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
         1)แบบสังเกตพฤติกรรมการสร้างความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนและแบบประเมินตนเองของนักเรียน
         2)แบบฝึกทักษะในการแก้ปัญหา
   2.3 เครื่องมือที่ใช้วัดการเรียนรู้ของนักเรียน
         1)แบบทดสอบวัดความก้าวหน้าของนักเรียน
         2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางกาเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเศษส่วนและทศนิยม
         3)โครงงานวิชาคณิตศาสตร์
   2.4 เครื่องมือสะท้อนผลการปฏิบัติ เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูในแต่ละแผนการสอนเพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
3.รูปแบบการวิจัยผู้วิจัยกำหนดแนวทางการวิจัยตามแบบแผนการวิจัยเชิงปฏิบัติโดยการดำเนินการตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
    3.1 ขั้นตอนการวางแผนปฏิบัติ ( Plan )
          1)
กำหนดคณะทำงานผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครูวิชาการโรงเรียน ผู้ช่วยวิจัย ศึกษานิเทศก์นักเรียน
          2)
ศึกษาค้นคว้าเอกสารวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตลอดจนการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวคิดของทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
          3)
วางแผนการดำเนินงานโดยวิเคราะห์หลักสูตร ศึกษาเอกสารการสอนจุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหา จำนวนหน่วยการเรียน เวลาเรียน
          4)
ศึกษาและสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    3.2
ขั้นปฏิบัติการ ( Act ) เป็นการนำแผนการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาดำเนินการสอนขณะลงมือปฏิบัติการสอนใช้การวิเคราะห์ วิจารณ์ ประกอบด้วยโดยรับฟังจากผู้ช่วยวิจัย
    3.3
ขั้นตอน ( Observe ) เป็นการสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยสังเกตกระบวนการปฏิบัติการและผลของการปฏิบัติการ
    3.4
ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ ( Reflect ) นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการบันทึกของผู้ร่วมวิจัย มาวิเคราะห์วิจารณ์ อภิปรายร่วมกันสรุปศึกษาถึงปัญหาหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปรับปรุงและการวางแผนใหม่เพื่อใช้ในวงจรต่อไป
4. การเก็บรวบรวมข้อมูล
     4.1 ติดต่อประสานงานโรงเรียนที่ผู้ทำวิจัยใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
     4.2 ชี้แจงให้ความรู้รายละเอียดในกระบวนการเรียนการสอน
     4.3ดำเนินการสอนโดยใช้เวลาในการทดลอง 16 คาบ คาบละ 50 นาที จำนวน 16 แผนการสอน
5. การวิเคราะห์ข้อมูลนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพดังต่อไปนี้
     5.1 ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของทักษะการแก้ปัญหาและความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง
     5.2
ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการนำข้อมูลจากสิ่งที่ค้นพบคือ ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองขั้นสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา จากนั้นประมวลสรุปผลในรอบสุดท้ายเพื่อประมูลข้อดีทั้งปัญหาที่ต้องปรับปรุงเพื่อนำมาสู่ผลสรุปการวิจัย

ผลของการวิจัย

ผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยเป็น 4 วงจรมีผลการทำวิจัยดังนี้
1.ผลการประเมินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยม
     1.1
 ขั้นสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ได้แก่
          1)
การเชิญสถานการณ์ปัญหา
          2)
ขั้นสร้างความเข้าใจในปัญหา
          3)
แนวทางการแก้ปัญหา
     
สรุปได้ว่าการที่ให้นักเรียนได้เผชิญสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและได้ปฏิสัมพันธ์กับสังคมจะช่วยให้นักเรียนเกิดความขัดแย้งทางปัญหา โดยผ่านการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ ครูและจากแหล่งความรู้ที่ทำให้นักเรียนสามารถขจัดความขัดแย้งเหล่านั้นได้
      1.2 การดำเนินกิจกรรมไตร่ตรอง ได้แก่ กิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อยการดำเนินกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มใหญ่ การสร้างสถานการณ์ปัญหาหรือสร้างโจทย์ปัญหาสรุปได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่จะเกิดพฤติกรรมในการดำเนินไตร่ตรองเพื่อตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสมมติฐานหรือปัญหาต่างๆของนักเรียนแต่ละคนเสนอเพื่อคลี่คลายสถานการณที่เป็นปัญหานั้น อย่างพินิจพิเคราะห์ด้วยเหตุผลต่างๆเพื่อขจัดความขัดแย้งและแก้ปัญหานั้นๆระหว่างบุคคล
      1.3
ขั้นสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา
2.จากการประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้รูปแบบการสอนตามทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้นิยมสามารถสรุปได้ดังนี้
       2.1 ผลการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียน มีทั้งนักเรียนจะพัฒนาความก้าวหน้าในระดับสูงที่สุดพัฒนาความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนมีความก้าวหน้าลดลงและเพิ่มขึ้นตั้งแต่วงจรที่ 1-4
       2.2 ผลการประเมินผลการประเมินทางคณิตศาสตร์ มีทั้งนักเรียนที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับดีเยี่ยม และยังคงระดับเดิมเอาไว้ มีคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงระดับดีมาก และยังคงระดับเดิมเอาไว้ มีคะแนนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงระดับดีและลดลงในระดับเดิม
        2.3 ผลจากการประเมินแบบทดสอบ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับที่น่าพอใจและผ่านเกณฑ์ความรู้ที่กำหนดไว้ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม
3. การสะท้อนผลการปฏิบัติ
        3.1 พฤติกรรมของครู ครูจะมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้แก่นักเรียนช่วยให้นักเรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น

        3.2 กิจกรรมเสริมบทเรียน นักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์

 
   
Today, there have been 2 visitors (6 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free